วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

มิติเกม








หลากหลายเกมที่มีการใช้เทคนิคที่แตกต่างกันไปอีกทั้งเกมที่เล่นยังมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วยซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของเกมแต่ละเกมหลายๆคงเคยได้ยินเรื่องของมุมมองที่ 1 บุคคลที่ 1 หรือที่ 2 3 4 ก็แล้วแต่ แต่จริงๆแล้วเป็นที่นิยมเลยจริงๆก็คือ 1 กับ 3 แต่เอ๊ะหลายๆคนคงงงว่าอะไรคือบุคคลที่ 1อะไรคือมุมมอง พูดแล้วก็งงไปหมดเอาเป็นว่าเรามาดูกันดีกว่าว่า บุคคลที่หนึ่งเป็นยังไง


มุมมองบุคคลที่หนึ่ง หรือภาษาอังกฤษที่เราเรียกว่า first-person โดยการจำลองการเล่นของเราผ่านสายตาตัวละครที่เราบังคับ โดยที่เราจะไม่เห็นตัวละครของตัวเราเอง ซึ่งเกมแนวนี้ส่วนใหญ่จะทำออกมาในรูปแบบของเกม Shooter ซะเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังรวมไปถึงเกมแนว war หรือสงครามhorror หรือแนวสยองขวัญ ซึ่งที่เกมเหล่านี้ใช้มุมมองแบบนี้เพราะว่ามันรู้สึกสมจริงกว่ามันเหมือนเราได้อยู่ในสถานะการณ์ที่เลวร้ายหรือสยองขวัญมากกว่า ถ้าเป็นเกมแนว horror นี่ยิ่งแล้วใหญ่เลย ซึ่งในปัจจุบันมีการผสมผสานกันอย่างลงตัวโดยการเอาเกมแนว horror มาผสมกับ Shooterจนกลายเป็นที่มาของเกมแนว survival horror ซึ่งต้องบอกเลยว่าเกมแนวนี้เกือบทุกๆเกมประสบความสำเร็จใจเรื่องรายได้และเรื่องตอบรับซะเป็นส่วนใหญ่ เกมที่ใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่ง ยังมีอีกหลากหลายแนวซึ่งคาดว่าจะมีพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องซึ่งในทุกๆวันนี้เทคโนโลยีอย่าง VR ก็ได้ใกล้กับชีวิตประจำวันของเราเข้าไปทุกทีแล้ว ดังนั้น การฝึกเล่นเกมที่ใช้มุมมองบุลคลที่หนึ่งจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเหล่าเกมเมอร์แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมเองก็ไม่ค่อยชอบเล่นเกมที่มีมุมมองแบบนี้สักเท่าไร เพราะมันเวียนหัวง่ายปวดหัวทึบๆเลย แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นกันทุกคนเพราะบางคนกลับเล่นแล้วไม่รู้สึกอะไรเลย อีกทั้งยังเหมือนกันการเปรียบเทียบแบบว่า ถ้าเล่นมือถือบนรถยนตร์แล้วไม่เวียนหัว อาจจะเล่นเกมแนวนี้ปวดหัวก็ได้ ถ้าเล่นแล้วยังไม่ใช่แนวของตัวนี้ก็ลองหาเกมมุมมองอื่นๆมาเล่นดูบ้าง แต่ยังไงก็อย่าฝืนจนมากเกินไปดูแลรักษาสุขภาพตัวเองด้วยนะ


มุมมองบุคคลที่สอง อันนี้ไม่ต้องอธิบายอะไรมากมั้งเพราะมันไม่มีเกมไหนทำแบบนี้อยู่แล้ว ลองคิดดูว่าเราเล่นเกมในมุมมองของศัตรูของเรามองเห็นตัวละครของเราเอง ผ่านสายตาศัตรูแค่คิดเล่นๆก็อดขำไม่ได้แล้วว่าใครจะมาเล่นเกมที่ทำมุมมองแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วมุมมองของบุคคลที่สองนั้่นจะถูกใส่ไว้เป็นฉากๆซะมากกว่า มากกว่าที่จะให้เล่นเองทั้งเกม แค่คิดก็อดขำไม่ได้จริงๆว่าถ้าเป็นมุมมองบุคคลที่สองกำลังจะยิงตัวละครที่เราเล่น แล้วเราตายก็ต้องกลับไปเริ่มใหม่คงจะแปลกๆน่าดู การใส่ฉากที่มีมุมมองบุคคลที่สองลงไปในเกมก็ไม่แสดงผลให้เห็นสักเท่าไรว่ามันจะอินกับเนื้อเรื่องมากขึ้นหรืออินกับตัวเกมมากขึ้นเลย ดังนั้นก็ไม่แปลกหรอกครับที่เขาไม่ทำกัน



มุมมองบุคคลที่สาม หลากหลายเกมที่ใช้มุมมองนี้อีกทั้งยังเป็นมุมมองที่ดูแล้วไม่ปวดหัวและสนุกไปกับท่าทางกิริยาของตัวละครอีกด้วย มุมมองที่เราสามารถมองผ่านหลังตัวละครในเกมที่เราบังคับ โดยภาษาอังกฤษจะเรียกกันว่า Third Person เกมแนวต้องบอกเลยว่าในยุคแรกๆนิยมทำออกมากันอย่างมาก เพราะกราฟฟิกที่ยังต่ำในสมัยนั้นทำให้การทำฉากแต่ละฉากส่วนใหญ่จะเป็น CG ส่วนตัวละครหรืออะไรที่อยากให้มันขยับได้ก็ค่อยเรนเดอร์ออกมาอีกที มุมมองที่คล้ายๆกับการที่เราได้เดินตามหลังตัวละครตลอดหรือเป็นกล้องวงจรปิดที่คอยสังเกตุการกับตัวละครที่เราเล่นหรือที่เราบังคับภาพจะไม่มุมไม่มุมมองสักเท่าไรทำให้ไม่เวียนหัวเวลาเล่น แต่ข้อเสียมันก็มีอย่างเช่นการเดินไปในที่แคบๆ จะทำให้มุมมองบิดไปบิดมาจนเราอาจจะมองไม่ถนัด อีกทั้งการกลับตัวหรือกลับหลังหันเพื่อที่วิ่งหนีหรือทำอะไรสักอย่างทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเกมว่าจะปรับมุมกล้องหรือมุมมองได้เร็วแค่ไหนแต่ส่วนใหญ่แล้วคอเกมเหล่าเกมเมอร์ทั้งหลายที่ชอบเล่น Third person ต่างก็บ่นเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้



มุมมองสูง หรือเรียกกันว่า Topview นั้นเอง เกมที่ใช้มองมองแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วนั้นจะเป็นเกมวางแผนให้เราได้เห็นถึงสมรภูมิรบ และแผนที่จุดอับและมุมต่างๆ โดยมุมมองนี้จะใช้อย่างมากกับเกมแนว Moba ลองคิดดูว่าถ้าหากเกมแนว Moba เป็นมุมมองแบบอื่นคงแปลกน่าดู อีกทั้งเกม เทรินเบรดที่ผลัดกันเดินผลัดกันตี ที่ต้องใช่มุมมองแบบสูงเพราะเรื่องของการวางแผนล้วนๆ แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่เกมวางแผนเท่านั้นที่ใช้มุมมองแบบนี้ เกมผจญภัยสุดคลาสคิสและฮิตมากๆในยุคก่อนก็ใช้มุมมองแบบสูงเหมือนกันนั้นก็คือเกม โปเกมอน เกือบทุกภาคที่ใช้มุมมองแบบสูงให้ผู้เล่นได้เดินสำรวจแผนที่อีกทั้งยังสนุกไปกับการผจญภัยในที่ต่างๆอักด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น